Faces of Anne — ความสับสนของตัวตนบนโลกออนไลน์ที่หนักหนา จนทำให้ภาพยนตร์เองสับสนในตัวเองตามไปด้วย

FACES OF ANNE — แอน

116 MIN. — 2022

Kongdej Jaturanrasamee — คงเดช จาตุรันต์รัศมี

Rasiguet Sookkarn — ราสิเกติ์ สุขกาล

 

 

 

ภาพยนตร์ Faces of Anne หรือในชื่อภาษาไทยว่า “แอน” เป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์ยาวลำดับที่ 10 ของผู้กำกับ คงเดช จาตุรันต์รัศมี หลังจากเว้นว่างจากงานกากับเรื่องล่าสุดอย่าง Where We Belong (2019) เป็นเวลาประมาณ 3 ปี โดยครั้งนี้เป็นงานกำกับร่วมกับผู้กำกับหญิง ราสิเกติ์ สุขกาล ที่เคยร่วมงานกันมาก่อนในฐานะผู้กำกับศิลป์ของภาพยนตร์ Snap (2015) ที่ คงเดช นั่งแท่นผู้กำกับ โดยเนื้อหาของ Faces of Anne นั้นเป็นเรื่องราวของกลุ่มหญิงสาวกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเดียวกัน คือ แอน ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่สูญเสียความทรงจาไปและใบหน้ายังเปลี่ยนไปเป็นคนอื่นอยู่ตลอดเวลา โดยพวกเธอได้ถูกนาตัวมาไว้ที่สถานพยาบาลลึกลับแห่งหนึ่งเพื่อทาการรักษา ก่อนที่จะพบว่ามีปีศาจหัวกวางที่น่าสะพรึงกลัวตามไล่ล่าพวกเธอทุกคนอยู่

โดยหลังจากที่ได้รับชมแล้วนั้น กลับกลายเป็นว่าตัวเนื้อหาของภาพยนตร์ไม่ใช่มาในประเภทหนังผีแบบเต็มตัว อย่างที่ตัวอย่างของภาพยนตร์ที่ถูกปล่อยออกมาก่อนหน้านี้พยายามที่ทำให้คิดไปในทางนั้นซะทีเดียว แต่ดูจะมีความเป็นหนังสยองขวัญแนวจิตวิทยาซึ่งแฝงไปด้วยความรุนแรง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับซีรีส์อย่าง เด็กใหม่ (2018) เสียมากกว่า ซึ่งในตรงจุดนี้ ผู้ที่คาดหวังความน่ากลัวแบบที่หนังผีเป็นอาจจะต้องผิดหวัง และความเป็นไปบางอย่างของตัวภาพยนตร์อาจจะต้องอาศัยการตีความด้วยตนเองอยู่พอสมควรอีกด้วย

สิ่งที่น่าชื่นชมเป็นอย่างมากของ  แอน คือ งานสร้างหรือโปรดักชั่นที่ยอดเยี่ยม ทั้งการออกแบบฉากสถานพยาบาลที่มีความคล้ายกับบ้านพักคนชราหรือโรงแรมเก่า ก็ให้ความรู้สึกน่ากลัวไปอีกแบบ การใช้แสง, สีและเสียงในการกระตุ้นอารมณ์ต่าง ๆ ก็ทำได้อย่างยอดเยี่ยม และสิ่งหนึ่งที่ประทับใจเป็นการส่วนตัว คือ การเลือกใช้เพลงประกอบน่าสนใจในฉากที่มีการ “ล่า” เกิดขึ้น เพลงประกอบดังกล่าวคล้ายกับเป็นสวิตช์ที่สามารถเปิดโหมดของความน่ากลัวได้ขึ้นมาทันที ทั้งที่โดยปกติแล้วก็คงจะไม่มีใครคิดว่าเพลงที่มีเนื้อหาลักษณะนี้จะกลายมาเป็นเพลงที่ทาให้เกิดความกลัวขึ้นมาได้ ในส่วนของเนื้อเรื่องที่ทำการเผยปริศนาให้ผู้ชมได้รับรู้อย่างช้า ๆ ก็มีส่วนช่วยในการดึงความสนใจของผู้ชมให้จดจ่อกับตัวของภาพยนตร์ได้อย่างไม่น่าเบื่อเลย

ด้วยองค์ประกอบบ้างอย่างที่สังเกตเห็นขณะรับชมภาพยนตร์ คาดว่าธีมส่วนหนึ่งของ แอน คงได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากภาพยนตร์คลาสสิกอย่าง Vertigo (1958) ของผู้กากับ อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ในเรื่องของความลุ่มหลง ความหมกหมุ่นและความฝันที่ซ้อนทับกันจนเหมือนจะกลายเป็นภาพหลอน แต่ด้วยธีมของภาพยนตร์ที่ค่อนข้างจะมีความทะเยอทะยานสูงนี้ ก็ทำให้ส่วนของประเด็นต่าง ๆ มันล้นจนเกินไป คล้ายกับว่าเป็นตีความจากเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องที่ใหญ่โตจนเกินพอดี และวิธีการในการเฉลยปมทุกอย่างในตอนท้ายก็ออกจะเป็นการ “พูด” มากเกินไปสักหน่อย คล้ายกับว่าตัวของผู้กำกับไม่ได้ให้ความเชื่อใจกับผู้ชมว่าจะสามารถเข้าใจภาพยนตร์ของตนผ่านทางการตีความด้วยตัวเองจากองค์ประกอบอื่น ๆ ของตัวภาพยนตร์ไปเสียอย่างนั้น

และเมื่อตัวของภาพยนตร์มีการใช้นักแสดงหญิงจำนวนมากมาแสดงเป็นตัวละครเดียวกันเช่นนี้ ด้วยความห่างชั้นของนักแสดงที่มีประสบการณ์ในการแสดงภาพยนตร์ไม่เท่ากัน ประกอบกับบทพูดที่ออกจะฟังดูแข็งทื่อไปสักหน่อย ก็อาจจะทำให้ชวนหงุดหงิดในความไม่เป็นธรรมชาติของมันได้อยู่พอสมควร และข้อเสียอีกประการหนึ่งคือฉากไล่ล่าที่ชวนให้ตื่นเต้นในช่วงแรกของภาพยนตร์กลับกลายเป็นดูซํ้าซากขึ้นมาเมื่ออยู่ในช่วงท้าย

โดยสรุปแล้ว “แอน” ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างพิถีพิถัน ด้วยโปรดักชั่นระดับสูงที่ถือว่าเป็นมาตรฐานในระดับโลก มีความทะเยอทะยานทั้งในเรื่องของการนานักแสดงจำนวนมากมาแสดงในบทบาทที่คล้ายคลึงกัน และในด้านของตัวบทภาพยนตร์เอง ก็ถือว่าเป็นบทภาพยนตร์ที่มีความแปลกใหม่ในวงการภาพยนตร์ไทย แม้จะยังไม่สามารถทำออกมาไม่ได้ลงตัวในทุกองค์ประกอบก็ตาม

Comments

comments